This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
Thai languages
+66 2 448 9111
วันพฤหัสบดี, 15 พฤษภาคม 2568 13:52

การบริหารจัดการด้านความปลอดภัยทางถนนในธุรกิจขนส่ง

          การบริหารจัดการด้านความปลอดภัยทางถนนในธุรกิจขนส่ง (Road Traffic Safety Management System) เป็นระบบการจัดการที่ครอบคลุมทุกขั้นตอนของงานขนส่ง ซึ่งเน้นให้ทุกส่วนงานที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการดำเนินงานความปลอดภัยต่างๆ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าพนักงานขับรถบรรทุกสินค้าสามารถปฏิบัติงานขนส่งสินค้าได้อย่างปลอดภัยตลอดเส้นทาง ประกอบด้วย 8 ขั้นตอน ดังนี้

  • การจัดการคู่ธุรกิจขนส่ง (Carrier Management)

  • การจัดการพนักงานขับรถ (Drivers Management)

  • การจัดการยานพาหนะ (Truck Management)

  • การบริหารเส้นทางขนส่ง (Journey Management)

  • การควบคุมโดยระบบ GPS (GPS Tracking)

  • การตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน (Emergency Response)

  • กิจกรรมเพื่อสังคมและชุมชน (CSR Activity)

  • การขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Success Service Safety Green Logistics)

 ภาพที่ 1 ขั้นตอนการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยทางถนนในธุรกิจขนส่ง

 

การบริหารจัดการด้านความปลอดภัยแบบองค์รวมเพื่อให้เกิดความปลอดภัยทางถนนในธุรกิจขนส่งประกอบด้วย 8 ข้อ ดังนี้

 

1. การจัดการคู่ธุรกิจขนส่ง (Carrier Management)

คือ การประเมินและคัดเลือกคู่ธุรกิจขนส่งด้านความปลอดภัยก่อนรับเข้ามาปฏิบัติงาน และต้องปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัย นโยบาย กฎความปลอดภัย บทลงโทษที่บริษัทฯ กำหนดไว้


 2. การจัดการพนักงานขับรถ (Driver Management)

คือ  กระบวนการสรรหาคัดเลือกพนักงานขับรถตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ และการฝึกอบรมให้ความรู้และทดสอบความรู้เกี่ยวกับการขับขี่อย่างปลอดภัยให้กับพนักงานขับรถก่อนเริ่มปฏิบัติงาน

 

3. การจัดการยานพาหนะ (Truck Management)

คือ การกำหนดคุณสมบัติ และมาตรฐานของรถขนส่ง รวมถึงต้องมีระบบการตรวจสอบสภาพและการบำรุงรักษารถ เพื่อให้มีความปลอดภัยก่อนนำมาใช้งานขนส่งสินค้า

 

 

4. การบริหารเส้นทางขนส่ง (Journey Management)

คือ การกำหนดให้คู่ธุรกิจขนส่งประเมินความเสี่ยงเส้นทางขนส่งผ่านการจัดทำแผนที่เส้นทางการขนส่งที่ปลอดภัย โดยต้องมีการระบุจุดพัก-จุดเสี่ยง ตลอดเส้นทาง

 

 

5. การควบคุมโดยระบบ GPS (GPS Tracking)

คือ การกำหนดให้คู่ธุรกิจขนส่งควบคุมและติดตามรถขนส่ง รวมถึงตรวจสอบพฤติกรรมการขับรถผ่านระบบ GPS

 

 

6. การตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน (Emergency Response)

คือ การกำหนดให้คู่ธุรกิจขนส่งจัดทำคู่มือขั้นตอนปฏิบัติกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน การจัดทำแผนจำลองสถานการณ์ต่างๆ ทุกกรณี

 

7. กิจกรรมเพื่อสังคมและชุมชน (CSR Activity)

คือ การทำกิจกรรมและพัฒนาการขนส่งทางถนนร่วมไปกับชุมชนและภาครัฐ (Road Safety CSR)

 

8. การขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Logistics)

คือ การบริหารงานขนส่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดการปลดปล่อย CO2

 

 

 

ขั้นตอนการปฏิบัติงานขนส่งเพื่อให้เกิดความปลอดภัยทางถนน

มี 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย

  ขั้นตอนที่ 1  

ระบบการจัดการภายในองค์กร  (Management System)

ตัวอย่างแนวทางการปฏิบัติ ประกอบด้วย

  • การประเมิน และคัดเลือกด้านความปลอดภัยก่อนรับเข้ามาเป็นคู่ธุรกิจขนส่ง
  • กำหนดนโยบาย กฎความปลอดภัย วิธีการปฏิบัติ และแผนงานความปลอดภัย
  • ติดตามผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัย
  • การรายงานอุบัติเหตุ การวิเคราะห์และสอบสวนอุบัติเหตุ
  • การตรวจประเมินเพื่อติดตามด้านความปลอดภัยประจำปี

 

  ขั้นตอนที่ 2  

การจัดการพนักงานขับรถขนส่งสินค้า (Driver Management)

ตัวอย่างแนวทางการปฏิบัติ ประกอบด้วย

  • กำหนดคุณสมบัติของพนักงานขับรถขนส่งสินค้า
  • กำหนดให้มีการทดสอบความรู้ในการขับรถ ทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ
  • กำหนดให้มีการตรวจสุขภาพประจำปี
  • พัฒนาทักษะ ความรู้ ความสามารถ ของพนักงานขับรถผ่านการฝึกอบรม
  • กำหนดให้มีการตรวจสอบความพร้อมก่อนการปฏิบัติงาน ได้แก่ การตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์, การตรวจวัดความดันโลหิต และการตรวจสารเสพติด

 

  ขั้นตอนที่ 3  

การจัดการรถขนส่งสินค้า (Truck Management)

ตัวอย่างแนวทางการปฏิบัติ ประกอบด้วย

  • การติดตั้งระบบตรวจติดตามรถขนส่ง (GPS) และติดตั้งกล้องหน้ารถขนส่ง
  • กำหนดมาตรฐานรถขนส่ง และอุปกรณ์ความปลอดภัยประจำรถขนส่ง
  • กำหนดการตรวจสอบสภาพรถขนส่งประจำวัน
  • กำหนดให้มีการบำรุงรักษารถขนส่ง ตามระยะเวลาเป็นประจำ

 

  ขั้นตอนที่ 4  

การจัดการเส้นทางที่ใช้ในการขนส่งสินค้า  (Journey Management)

ตัวอย่างแนวทางการปฏิบัติ ประกอบด้วย

  • การประเมินความเสี่ยงเส้นทางขนส่งผ่านการจัดทำแผนที่เส้นทางการขนส่งที่ปลอดภัย โดยต้องมีการระบุจุดพัก-จุดเสี่ยง ตลอดเส้นทางขนส่ง
  • การตรวจสอบพฤติกรรมการขับรถของพนักงานขับรถผ่านระบบติดตามรถขนส่ง (GPS)
  • การตรวจสอบพฤติกรรมการขับรถของพนักงานขับรถผ่านกล้องติดหน้ารถขนส่ง

  ขั้นตอนที่ 5  

การตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน (Emergency Response)

ตัวอย่างแนวทางการปฏิบัติ ประกอบด้วย

  • การจัดทำคู่มือขั้นตอนปฏิบัติกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน
  • กำหนดให้มีการเขียนแผนจำลองสถานการณ์ในสภาวการณ์ต่างๆ
  • กำหนดให้มีการสื่อสารคู่มือขั้นตอนปฏิบัติกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน
  • กำหนดให้มีการฝึกซ้อมแผนตอบโต้ภาวะฉุกเฉินประจำปี

 

ภาพที่ 2 ขั้นตอนการปฏิบัติงานขนส่งเพื่อให้เกิดความปลอดภัยทางถนน

 

บทความโดย : อภิสิทธิ์ โกมลพันธ์พร  ผู้จัดการกระจายสินค้าภาคนครหลวง บริษัท เอสซีจี โลจิสติกส์ แมเนจเม้นท์ จำกัด

เข้าดู 282 ครั้ง Last modified on วันพฤหัสบดี, 15 พฤษภาคม 2568 15:14

บทความที่ได้รับความนิยม