This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
Thai languages
+66 2 448 9111
วันพฤหัสบดี, 02 พฤศจิกายน 2566 14:29

วงจรการปฏิบัติการด้านความปลอดภัยและสอดรับตามข้อกำหนดในกฎหมาย

        ปัจจุบันประเทศไทยมีกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัย พ.ศ. 2565 การประเมินความพึงพอใจเป็นประโยชน์ไหมโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 5 วรรคหนึ่งและมาตรา 8 วรรคหนึ่งแห่ง พ.ร.บ. ความปลอดภัยฯ พ.ศ 2554 ซึ่งจะมีผล ซึ่งจะมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 10มิถุนายน  2565 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้องค์กรสามารถจัดหาสถานที่ทำงานที่ปลอดภัยและมีสุขภาพดี ป้องกันการประสบอันตรายจากการทำงาน และการปรับปรุงสภาพงานด้านความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง โดยองค์ประกอบหลักของระบบการจัดการด้านความปลอดภัย ประกอบด้วย

•  นโยบายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

•  การจัดการองค์กรด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

•  แผนงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานและการนำไปปฏิบัติ

•  การประเมินผลและการทบทวนระบบการจัดการด้านความปลอดภัย

•  การปรับปรุงและพัฒนาระบบการจัดการด้านความปลอดภัย

        อนึ่ง ระบบการจัดการฯ ตามที่กฎหมายกำหนดมุ่งเน้นหน้าที่และความรับผิดชอบของนายจ้าง โดยนายจ้างต้องแสดงภาวะผู้นำและความมุ่งมั่นที่เข้มแข็ง และปฏิบัติตามกฎหมายและทำกิจกรรมความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง

        ทั้งนี้ ผู้เขียนมีความตั้งใจจะนำเสนอองค์ประกอบที่มีความสำคัญและเหมาะสมกับทุกสถานประกอบกิจการในสถานการณ์ปัจจุบัน โดยการจัดให้มีบุคลากร ซึ่งมีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินการตามระบบการจัดการด้านความปลอดภัย แต่ละตำแหน่งที่ปฏิบัติในพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามระบบด้วย

        ดังนั้น องค์กรใดที่ต้องการให้การจัดการดังกล่าว เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในเชิงป้องกันอย่างเป็นรูปธรรม สามารถที่จะหลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุจากความเสียหายในการทำงานได้ โดยการดำเนินการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นในแต่ละวัน รายสัปดาห์หรือรายเดือน ซึ่งทุกคนที่เกี่ยวข้องในการทำงานในพื้นที่ปฏิบัติงานโดยเฉพาะ จป. ระดับหัวหน้างานจะมีหน้าที่ปฏิบัติให้ถูกต้องในระหว่างการทำงานโดยต้องมีนโยบาย หรือ แผนงานและกิจกรรมการจัดการด้านความปลอดภัยที่ชัดเจนในสถานที่ทำงานขององค์กร และต้องทำเป็นกิจวัตรทุก ๆ วันอย่างสม่ำเสมอ โดยกำหนดบทบาทหน้าที่ให้ จป.ระดับหัวหน้างานเป็นหลักและมีผู้ที่เกี่ยวข้องในการทำงานให้การสนับสนุนดำเนินการ 7 ประการ ดังรูปแผนผังที่แสดงปรากฏพอสังเขป

        นอกจากนี้ผู้เขียนต้องการยกตัวอย่างประกอบให้เห็นเป็นรูปธรรมกรณีเกิดเหตุการณ์อุบัติเหตุในการทำงานจริง เพื่อเป็นกรณีตัวอย่างเสริมกิจกรรมดังกล่าวข้างต้นให้ชัดเจนมากขึ้นสำหรับผู้สนใจได้ตระหนักความสำคัญ และสามารถนำไปเป็นแนวทางการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยที่เป็นรูปธรรมในสถานประกอบกิจการต่อไป

          ตัวอย่าง    พนักงาน (ชาย) กำลังปฏิบัติงานใช้เครื่องตัดโครงเหล็กกล่องด้วยจานไฟเบอร์ขนาดใหญ่ เพื่อตัดเหล็กกกล่องเป็นท่อน ๆ ขณะปฏิบัติงานปรากฏว่า มีเสียงดังจากอุปกรณ์เครื่องจักรดังกล่าว ทำให้พนักงานไม่กล้าจะปฏิบัติ และหยุดเครื่องจักรทันทีพร้อมแจ้งให้หัวหน้างานทราบทันที

        หัวหน้างานทราบ และเข้าใจว่าเครื่องจักรชำรุดจึงเดินไปแจ้งและรายงานให้ช่างซ่อมเครื่องจักรทราบโดยทันที ซึ่งช่างดังกล่าวรับปากด้วยวาจาพร้อมที่จะไปดูและช่วยแก้ไขให้เรียบร้อยก่อนที่พนักงานจะมาเริ่มงานในวันรุ่งขึ้น

        ปรากฏว่าวันรุ่งขึ้นพนักงานดังกล่าวมาเริ่มงานและเปิดใช้เครื่องจักรตามปกติ ทำให้จานไฟเบอร์หลุดจากเครื่องกระเด็นสับหน้าพนักงานดังกล่าวถึงแก่ชีวิต เพราะเครื่องจักรที่ชำรุดยังไม่ได้รับการซ่อมแซมจากช่างดังกล่าวข้างต้น

 

บทความโดย : นายวินัย ลัฐิกาวิบูลย์

 

เข้าชม 1929 ครั้ง แก้ไขล่าสุด วันพฤหัสบดี, 02 พฤศจิกายน 2566 15:42