This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
Thai languages
+66 2 448 9111
วันพุธ, 21 กันยายน 2565 09:31

ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า กับอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล (หมวกนิรภัย)

  การป้องกันศีรษะ (Head Protection)   

การป้องกันลูกจ้างให้พ้นจากอันตรายจากการบาดเจ็บที่ศีรษะเป็นเป้าหมายสำคัญอันดับต้นๆ ของโครงการความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการเนื่องจาก “การบาดเจ็บที่ศีรษะอาจทำให้พิการหรือเสียชีวิตได้อย่างง่ายดาย” การสวมหมวกนิรภัยหรือหมวกแข็งเป็นวิธี  ป้องกันง่ายที่สุด

หมวกนิรภัยหรือหมวกแข็งสามารถป้องกันการกระแทกหรือการเจาะทะลุ รวมถึงไฟดูดและไฟไหม้  ด้วย ทั้งนี้ นายจ้างจะต้องมั่นใจว่าลูกจ้างได้สวมใส่หมวกนิรภัยเมื่อปฏิบัติงานซึ่งมีความเสี่ยงดังต่อไปนี้

  1. วัตถุที่อยู่ด้านบนอาจหล่นลงมากระแทกศีรษะ

  2. ศีรษะอาจไปกระแทกกับวัตถุอยู่กับที่ ซึ่งมีความแข็ง เช่น ท่อ คาน ฯลฯ

  3. ศีรษะอาจไปสัมผัสกระแสไฟฟ้า ได้รับอันตรายจากไฟดูดหรือช๊อต

ตามข้อกำหนดทั่วไป หมวกนิรภัยหรือหมวกแข็งใช้ป้องกันศีรษะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้  

1. ต้านทานการเจาะทะลุ

 

2. ดูดซับแรงกระแทก

 

3. กันน้ำและไหม้ไฟช้า

 

4. อธิบายวิธีใช้งานได้ชัดเจน โดยเฉพาะการ/เปลี่ยนรองในหมวก (Suspension) และที่คาดศีรษะ (Headband)

       หมวกนิรภัยที่จะนำมาใช้ตามข้อบังคับ OSHA 29 CFR 1910.135 (b) (1) ต้องมีคุณสมบัติตรงตามมาตรฐาน  ANSI Z89.1-1986 (American National Standard for Personnel Protection) หรือ ANSI Z89.1-1997  หรือ ANSI Z89.1-2003

  ประเภทของหมวกนิรภัย  

        หมวกนิรภัยหรือหมวกแข็งที่วางขายในตลาดมีมากมายหลายรูปแบบ แต่ตามข้อบังคับ OSHA กำหนด ไว้ชัดเจนว่า จะต้องได้มาตรฐาน ANSI ดังนั้นนายจ้างต้องพิจารณาเรื่องมาตรฐานเป็นสำคัญ ทั้งนี้ หมวกนิรภัยหรือหมวกแข็งตามมาตรฐาน ANSI ที่ใช้ในอุตสาหกรรมทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

  1.   หมวกแข็งประเภท  เอ   (Class A Hard Hats)

              มีคุณสมบัติต้านทานการกระแทก และการเจาะ รวมทั้ง สามารถป้องกันอันตรายจากแรงดันไฟฟ้าไมเกิน 2,200 โวลต์
  2.   หมวกแข็งประเภท  บี   (Class B Hard Hats)

              ให้การป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าในระดับสูงสุด ป้องกันไฟดูดและไฟไหม้ที่เกิดจากแรงดันไฟฟ้าสูงถึง 20,000 โวลต์ รวมทั้ง มีคุณสมบัติต้านทานการกระแทกและการเจาะจากวัตถุซึ่งตกลงมาหรือปลิวเข้ามา
  3.   หมวกแข็งประเภท  ซี   (Class C Hard Hats)

             น้ำหนักเบา สวมสบาย ป้องกันแรงกระแทก แต่ไม่มีคุณสมบัติต้านทานกระแสไฟฟ้า นอกจากนี้ ยังมีหมวกอีกประเภทหนึ่งในท้องตลาด ได้แก่ หมวกกันกระทบ (Bump Hat) ออกแบให้ใช้ในบริเวณที่มีช่องว่างเหนือศีรษะน้อย เช่น ชั้นเพดานต่ำ ห้องใต้หลังคา อุโมงค์ ท่อ ฯลฯ เป็นการป้องกันไม่ให้ศีรษะกระทบกับวัตถุที่อยู่ด้านบน แต่ไม่มีคุณสมบัติต้านทานแรงกระแทกจากวัตถุที่ตกลงมาหรือปลิวเข้ามาตามข้อกำหนดในมาตรฐาน ANSI

ข้อควรจำ ในการเลือกซื้อหมวกแข็งหรือหมวกนิรภัย ให้สังเกตป้ายที่อยู่ในหมวกซึ่งจะต้องระบุข้อมูลสำคัญ ได้แก่ บริษัทผู้ผลิต ข้อมูลการรับรองของ ANSI และประเภทของหมวก

ที่มา   : คู่มือ Personal Protective Equipment (PPE) : OSHA 3151-12R 2003 ของสำนักบริหารสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน (OSHA) หน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงาน ประเทศสหรัฐอเมริกา

         : OSHA 3151-12R 2003, Occupational Safety and Health Administration, U.S. Department of Labor

เข้าชม 4664 ครั้ง แก้ไขล่าสุด วันพฤหัสบดี, 22 กันยายน 2565 09:18