สสปท. ขอเชิญผู้สนใจส่งผลงานนวัตกรรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ชิงรางวัล Safety Innovation Awards 2025
สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) หรือ สสปท. ขอเชิญชวนสถานประกอบกิจการ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน สถาบันการศึกษา นักเรียน นักศึกษา หรือหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีการพัฒนาผลงานนวัตกรรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ร่วมส่งผลงานเข้าร่วมพิจารณาเพื่อชิงรางวัล “Safety Innovation Awards 2025” เพื่อส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการพัฒนาผลงานนวัตกรรมด้านความปลอดภัยฯ อีกทั้งยังเป็นการเผยแพร่ และต่อยอดผลงานนวัตกรรมด้านความปลอดภัยฯ ส่งเสริมคุณค่า และลดการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจากการทำงานของผู้ปฎิบัติงาน
ประเภทผลงานนวัตกรรมด้านความปลอดภัยฯ ที่สามารถส่งเข้าร่วมพิจารณา
สสปท. กำหนดประเภทผลงานนวัตกรรมด้านความปลอดภัยฯ ที่สามารถส่งผลงานเข้าร่วมการพิจารณาและชิงรางวัลไว้ 4 กลุ่มประเภทผลงาน ได้แก่
(Product Innovation)
หมายถึง การสร้าง พัฒนา หรือปรับปรุงชิ้นงาน ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ โดยผลลัพธ์ที่ได้เป็นผลงาน/ชิ้นงานเชิงประจักษ์
(Process Innovation/ Service Delivery Innovation/ Systemic Innovation)
หมายถึง กลุ่มผลงานนวัตกรรมที่สร้าง พัฒนา หรือปรับปรุงการดำเนินงาน กระบวนการทำงานใหม่ ตลอดจนการส่งมอบบริการในรูปแบบใหม่ หรือปรับปรุง สร้างการดำเนินงานในรูปการณ์ส่งมอบบริการ และการวางระบบใหม่ในการทำงาน หรือปรับปรุงการดำเนินงานเชิงระบบ เช่น การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน ระเบียบขั้นตอนการปฏิบัติงาน (SOP) หรือ ขั้นตอนการทำงาน (WI) เป็นต้น
(Conceptual Innovation)
หมายถึง การสร้างหรือปรับปรุงแนวความคิดเช่น การสร้างนิเวศน์ความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ การสร้างแนวความคิดวัฒนธรรมความปลอดภัยในการทำงาน : สติรู้ตัว วินัยถูกต้อง เอื้ออาทรใส่ใจ (MDC)
(Policy Innovation)
หมายถึง การออกแบบนโยบาย หรือมาตรการใหม่หรือปรับปรุงการดำเนินงานเชิงนโยบาย
ธีมของผลงานนวัตกรรมด้านความปลอดภัยฯ ที่สามารถส่งเข้าร่วมพิจารณา
ในปี 2568 สสปท. กำหนดธีมของผลงานเป็นแนวทางและขอบเขตในการเสนอผลงานในการเข้าร่วมการพิจารณา โดยผลงานนวัตกรรมด้านความปลอดภัยฯ ต้องเป็นผลงานที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมความปลอดภัยเชิงป้องกัน (Proactive Safety Innovation) เทคโนโลยีและดิจิทัลสำหรับความปลอดภัยในการทำงาน (Technology and digital for occupational safety) และนวัตกรรมความปลอดภัยในการสร้างสุขภาวะที่ดีในการทำงาน (Occupational Health and wellbeing Innovation) โดยผลงานต้องเป็นผลงานที่มีความเกี่ยวข้องกับ
Transportation and Logistics Safety Innovation
Construction Safety Innovation
Safety Culture Innovation
เพื่อให้เกิดความยุติธรรมในการแข่งขัน สสปท. จะแบ่งการพิจารณาผลงานนวัตกรรมด้านความปลอดภัยฯ ออกเป็น 2 สายการพิจารณา
หลักเกณฑ์
สถานประกอบกิจการในส่วนของภาครัฐและภาคเอกชน โดยต้องมีเจ้าของผลงาน/หัวหน้าคณะผู้จัดทำผลงานเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ และได้รับความยินยอมในการส่งผลงานจากผู้บังคับบัญชา
ผลงานที่ส่งเข้าพิจารณาต้องยังไม่เคยได้รับรางวัลจากหน่วยงานภายนอกที่ใดมาก่อน ณ วันส่งผลงาน
กรณีสมัครในนามองค์กร สถานประกิจการภาคเอกชน ต้องเป็นนิติบุคคล
บุคคลทั่วไป สามารถส่งผลงานในสายการพิจารณานี้ได้
สถานประกอบกิจการที่สนใจจะส่งผลงานนวัตกรรม ไม่สามารถที่จะส่งผลงานเพื่อพิจารณาในสายสถานศึกษาได้
• รางวัลชนะเลิศ
จำนวน 1 รางวัล
ได้รับเงินรางวัล จำนวน 15,000 บาท ใบประกาศนียบัตร และโล่รางวัลจากนายกรัฐมนตรี
• รางวัลรองชนะเลิศ
จำนวน 1 รางวัล
ได้รับเงินรางวัล จำนวน 7,500 บาท ใบประกาศนียบัตร และโล่รางวัลจากนายกรัฐมนตรี
• รางวัลชมเชย
จำนวน 1 รางวัล
ได้รับใบประกาศนียบัตร และโล่รางวัลจากนายกรัฐมนตรี
หลักเกณฑ์
สถานศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน สามารถส่งผลงานเข้าร่วมได้ โดยต้องมีอาจารย์หรือผู้ดูแลรับรองการส่งผลงาน
ผลงานที่ส่งเข้าพิจารณาต้องยังไม่เคยได้รับรางวัลจากหน่วยงานภายนอกที่ใดมาก่อน ณ วันส่งผลงาน
สถานศึกษาที่ประสงค์จะส่งผลงานพิจารณาในสายสถานประกอบกิจการสามารถส่งผลงานเข้าร่วมการพิจารณาในสายสถานประกอบกิจการได้ เป็นไปตามดุลยพินิจของสถานศึกษานั้น ๆ
• รางวัลชนะเลิศ
จำนวน 1 รางวัล
ได้รับเงินรางวัล จำนวน 10,000 บาท ใบประกาศนียบัตร และโล่รางวัลจากนายกรัฐมนตรี
• รางวัลรองชนะเลิศ
จำนวน 1 รางวัล
ได้รับเงินรางวัล จำนวน 5,000 บาท ใบประกาศนียบัตร และโล่รางวัลจากนายกรัฐมนตรี
• รางวัลชมเชย
จำนวน 1 รางวัล
ได้รับใบประกาศนียบัตร และโล่รางวัลจากนายกรัฐมนตรี
ทั้งนี้ ทั้ง 6 รางวัลจะได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณและใบประกาศนียบัตรในงานความปลอดภัยและ อาชีวอนามัยแห่งชาติ ครั้งที่ 37
เกณฑ์การพิจารณาตัดสิน (รอบสุดท้าย)
ประกอบด้วย 7 เกณฑ์การพิจารณา ดังนี้
• ที่มาและความสำคัญของปัญหาในการจัดทำผลงานนวัตกรรม
น้ำหนัก = 2
• ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการทำงาน
น้ำหนัก = 5
• การใช้หลักวิชาการในการดำเนินงานจัดทำผลงาน
น้ำหนัก = 2
• ประสิทธิภาพและความยั่งยืนในการลดอัตราการประสบอันตราย
น้ำหนัก = 4
• ความคุ้มค่า
น้ำหนัก = 3
• การนำเสนอผลงาน
น้ำหนัก = 1
• ความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ในวงกว้าง/ความสำเร็จในการดำเนินโครงงาน
น้ำหนัก = 3
รวมน้ำหนัก = 20
หมายเหตุ การตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
กำหนดการ
• ส่งผลงานเข้าร่วมพิจารณา
วันที่ 6 มกราคม 2568 - วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 23.59 น.
• ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์นำเสนอผลงาน
วันที่ 12 มีนาคม 2568
• นำเสนอผลงาน เพื่อพิจารณาตัดสินรอบสุดท้าย ณ โรงแรมเอส.ดี. อเวนิว เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร
ช่วงวันที่ 21 เมษายน – 2 พฤษภาคม 2568
• ประกาศผลผู้ที่ได้รับรางวัล
วันที่ 7 พฤษภาคม 2568
• รับรางวัลภายในงานความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแห่งชาติ Thailand Safe at Work ครั้งที่ 37
วันที่ 11 มิถุนายน 2568
• นำเสนอผลงานภายในงานสัมมนาด้านความปลอดภัยฯ ระดับนานาชาติ OSH Avenue International Conference 2025 (OAIC 2025)
วันที่ 20 – 21 สิงหาคม 2568
เงื่อนไขการพิจารณาผลงาน (พิจารณาผลงานรอบที่ 1)
กลุ่มสถานประกอบกิจการ
- โครงงาน/ผลงานวัตกรรมด้านความปลอดภัยฯ ต้องเป็นไปตามประเภทผลงานและธีมของผลงานที่กำหนด
- เป็นโครงงานที่เกิดจากความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการดำเนินการออกแบบหรือปรับปรุงวัตถุ สิ่งของ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร ยานพาหนะ สภาพแวดล้อมเกี่ยวกับการทำงาน โดยเป็นการออกแบบ หรือปรับปรุงที่สามารถมองเห็น สัมผัส จับต้องได้ และใช้งานได้จริง ซึ่งมีการนำหลักวิชาการที่ถูกต้องเข้ามาใช้ในดำเนินงาน และเมื่อนำมาใช้งานจะต้องก่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน ทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีสุขภาพอนามัยดีมีความสะดวกสบายในการปฏิบัติงาน และอาจสามารถเพิ่มผลผลิตได้ด้วย การออกแบบ หรือปรับปรุงดังกล่าว จะต้องสามารถนำไปเป็นตัวอย่างให้แก่สถานประกอบกิจการอื่นได้
- เป็นโครงงานสิ่งประดิษฐ์คิดค้น หรือกระบวนการทำงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเท่านั้น
- เป็นผลงานที่ดำเนินการแล้วเสร็จแล้วที่สามารถใช้ได้จริงในสถานประกอบกิจการ ต้องมีผลการดำเนินงานที่สามารถแสดงให้เห็นได้ว่าสามารถลดความเสี่ยงและการประสบอันตรายจากการทำงานได้จริง
- ผลงานที่นำเสนอต้องไม่เคยผ่านการรับรางวัลจากหน่วยงานภายนอกที่ใดมาก่อน
- ผลงานที่นำเสนอต้องเป็นผลงานที่ถูกพัฒนาขึ้นไม่เกิน 3 ปี
กลุ่มสถานศึกษา
- โครงงาน/ผลงานวัตกรรมด้านความปลอดภัยฯ ต้องเป็นไปตามประเภทผลงานและธีมของผลงานที่กำหนด
- เป็นโครงงานที่เกิดจากความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการดำเนินการออกแบบหรือปรับปรุงวัตถุ สิ่งของ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร ยานพาหนะ สภาพแวดล้อมเกี่ยวกับการทำงาน โดยเป็นการออกแบบ หรือปรับปรุงที่สามารถมองเห็น สัมผัส จับต้องได้ และใช้งานได้จริง ซึ่งมีการนำหลักวิชาการที่ถูกต้องเข้ามาใช้ในดำเนินงาน และเมื่อนำมาใช้งานจะต้องก่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน ทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีสุขภาพอนามัยดีมีความสะดวกสบายในการปฏิบัติงาน และอาจสามารถเพิ่มผลผลิตได้ด้วย การออกแบบ หรือปรับปรุงดังกล่าว จะต้องสามารถนำไปเป็นตัวอย่างให้แก่สถานประกอบกิจการอื่นได้
- เป็นโครงงานสิ่งประดิษฐ์คิดค้น หรือกระบวนการทำงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเท่านั้น
- เป็นผลงานที่อยู่ระหว่างดำเนินการ หรือดำเนินการแล้วเสร็จที่สามารถใช้ได้จริงต้องมีผลการดำเนินงานที่สามารถแสดงให้เห็นได้ว่าสามารถลดความเสี่ยงและการประสบอันตรายจากการทำงานได้จริง หากผลงานยังอยู่ระหว่างดำเนินการต้องแสดงให้เห็นถึงวิธีการหรือใช้เทคนิคใดในการประเมินความเสี่ยง รวมไปถึงการคาดการณ์ผลการดำเนินงาน
- ผลงานที่นำเสนอต้องไม่เคยผ่านการรับรางวัลจากหน่วยงานภายนอกที่ใดมาก่อน
- ผลงานที่นำเสนอต้องเป็นผลงานที่ถูกพัฒนาขึ้นไม่เกิน 3 ปี
หมายเหตุ
- ลิขสิทธิ์/สิทธิบัตรของผลงานที่ส่งเข้าร่วมพิจารณาเป็นของเจ้าของผลงานดังเดิม สสปท. เป็นเพียงหน่วยงานในการส่งเสริม เผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ผลงานให้ผู้ที่สนใจได้รับทราบเท่านั้น
- ผลงานที่นำเสนอบางผลงาน สสปท. อาจขอความอนุเคราะห์ให้ท่านนำเสนอผลงานในงานสัมมนาด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยระดับนานาชาติ (OAIC) หรืองานความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแห่งชาติ (Thailand Safe at Work) และเผยแพร่ลงบนนิตยสารความปลอดภัย OSHE Magazine เพื่อแบ่งปันแนวคิดด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแก่ผู้ที่สนใจ
- ผลงาน/โครงงานที่ผ่านการพิจารณาตามคุณสมบัติ อาจได้รับการพิจารณาในการพัฒนาต่อยอด กับสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ หรือร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือช่ายในการพัฒนาต่อยอดผลงานนวัตกรรมร่วมกัน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
• คุณพฤทธิพงศ์ สามสังข์ และคุณรินรดา เทียมเทศ
• ส่วนงานพัฒนานวัตกรรมความปลอดภัยฯ สำนักวิจัยและพัฒนา
• โทรศัพท์ 0-2448-9111 ต่อ 603 หรือ 06-1420-1371
• E-Mail This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. หรือ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.