สสปท. ขอเชิญผู้สนใจส่งผลงานเข้าร่วมพิจารณาผลงานนวัตกรรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ชิงโล่และเงินรางวัล  ประจำปี 2567

       สถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ ขอเชิญชวนสถานประกอบกิจการ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน สถาบันการศึกษา หรือหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีผลงานนวัตกรรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ร่วมส่งผลงานเข้าร่วมพิจารณา เพื่อส่งเสริมเผยแพร่ และต่อยอดผลงานนวัตกรรมด้านความปลอดภัยฯ ลดการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจากการทำงานของผู้ปฎิบัติงาน

ประเภทผลงานนวัตกรรมด้านความปลอดภัยฯ ที่สามารถส่งเข้าร่วมพิจารณา

ในปี 2567 นี้ สสปท. ได้ขยายขอบเขตของผลงานนวัตกรรมด้านความปลอดภัยฯ ออกมากขึ้นเป็น 6 ประเภท ได้แก่

นวัตกรรมผลิตภัณฑ์

(Product Innovation) หมายถึง การสร้าง พัฒนา หรือปรับปรุงชิ้นงาน ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ

นวัตกรรมกระบวนการ

(Process Innovation) หมายถึง การสร้าง พัฒนา หรือ ปรับปรุงการดำเนินงาน กระบวนการใหม่

นวัตกรรมการส่งมอบบริการ

(Service Delivery Innovation) หมายถึง การส่งมอบบริการในรูปแบบใหม่ หรือปรับปรุง สร้างการดำเนินงานในรูป

นวัตกรรมทางความคิด

(Conceptual Innovation) หมายถึง การสร้างหรือปรับปรุงแนวความคิด เช่น การสร้างนิเวศน์ความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ การสร้างแนวความคิดวัฒนธรรมความปลอดภัยในการทำงาน : สติรู้ตัว วินัยถูกต้อง เอื้ออาทรใส่ใจ (MDC)

นวัตกรรมเชิงนโยบาย

(Policy Innovation) หมายถึง การออกแบบนโยบาย หรือมาตรการใหม่ หรือปรับปรุงการดำเนินงานเชิงนโยบาย

นวัตกรรมเชิงระบบ

(Systemic Innovation) หมายถึง เป็นการวางระบบใหม่ในการทำงาน หรือปรับปรุงการดำเนินงานเชิงระบบ เช่น การจัดทำระบบการจัดการด้านความปลอดภัยฯ ไปใช้ปรับปรุงการทำงานทั้งระบบ

ธีมของผลงาน (Theme)

ในการส่งผลงานนวัตกรรมด้านความปลอดภัยฯ ในปีนี้ กำหนดธีมของผลงานสำหรับส่งผลงานเข้าร่วมพิจารณา ดังนี้

นวัตกรรมความปลอดภัยเชิงป้องกัน 

Proactive Safety Innovation

นวัตกรรมความปลอดภัยในแรงงานผู้สูงอายุ

Safety Innovation for elderly worker

นวัตกรรมการยกและเคลื่อนย้ายวัสดุด้วยแรงกาย

(Safety Innovation for Manual Material Handling

นวัตกรรมความปลอดภัยที่ใช้ปรับปรุงการทำงาน

Work Improvement Safety Innovation

นวัตกรรมความปลอดภัยที่ใช้ในงานความเสี่ยงสูง

High Consequences Work Safety Innovation

นวัตกรรมอื่น ๆ

ที่เกี่ยวข้องกับด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

การแบ่งสายพิจารณาผลงานและรางวัล
สายสถานประกอบกิจการ

ประกอบด้วย 3 รางวัล ได้แก่

• รางวัลชนะเลิศ

ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ ใบประกาศนียบัตร และเงินรางวัลมูลค่า 15,000 บาท

• รางวัลรองชนะเลิศ

ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ ใบประกาศนียบัตร และเงินรางวัลมูลค่า 7,500 บาท

• รางวัลชมเชย

ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ และใบประกาศนียบัตร

สายสถานศึกษา 

ประกอบด้วย 3 รางวัล ได้แก่

• รางวัลชนะเลิศ

ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ ใบประกาศนียบัตร และเงินรางวัลมูลค่า 10,000 บาท

• รางวัลรองชนะเลิศ

ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ ใบประกาศนียบัตร และเงินรางวัลมูลค่า 5,000 บาท

• รางวัลชมเชย

ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ และใบประกาศนียบัตร

ทั้งนี้ ทั้ง 6 รางวัลจะได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณและใบประกาศนียบัตรในงานความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแห่งชาติ ครั้งที่ 36 (วันที่ 19 มิถุนายน 2567)

หลักเกณฑ์การแบ่งสายส่งผลงาน

สายสถานประกอบกิจการ

  • สถานประกอบกิจการในส่วนของภาครัฐและภาคเอกชน โดยต้องมีเจ้าของผลงาน/หัวหน้าคณะผู้จัดทำผลงานเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ และได้รับความยินยอมในการส่งผลงานจากผู้บังคับบัญชา

  • ผลงานที่ส่งเข้าพิจารณาต้องยังไม่เคยได้รับรางวัลจากที่ใดมาก่อน ณ วันส่งผลงาน

  • กรณีสมัครในนามองค์กร สถานประกิจการภาคเอกชน ต้องเป็นนิติบุคคล

  • บุคคลทั่วไป สามารถส่งผลงานในสายการพิจารณานี้ได้

  • สถานประกอบกิจการที่สนใจจะส่งผลงานนวัตกรรม ไม่สามารถที่จะส่งผลงานเพื่อพิจารณาในสายสถานศึกษาได้

สายสถานศึกษา (เยาวชน)

  • สถานศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน สามารถส่งผลงานเข้าร่วมได้ โดยต้องมีอาจารย์หรือผู้ดูแลรับรองการส่งผลงาน

  • สถานศึกษาที่ส่งผลงานที่ได้รับทุนการพัฒนาผลงานทั้งในระดับชาติและนานาชาติ สสปท. จะดำเนินการเปลี่ยนสายการพิจารณาเป็นกลุ่มสถานประกอบกิจการ (กลุ่มทั่วไป)

  • ผลงานที่ส่งเข้าพิจารณาต้องยังไม่เคยได้รับรางวัลจากที่ใดมาก่อน ณ วันส่งผลงาน

  • สถานศึกษาที่ประสงค์จะส่งผลงานพิจารณาในสายสถานประกอบกิจการ (กลุ่มทั่วไป) สามารถส่งผลงานเข้าร่วมการพิจารณาในสายนี้ได้ เป็นไปตามดุลยพินิจของสถานศึกษานั้น ๆ

เงื่อนไขการรับผลงานเข้าร่วมพิจารณา

  • โครงงาน/ผลงานวัตกรรมด้านความปลอดภัยฯ ต้องเป็นไปตามประเภทผลงานและธีมของผลงานที่กำหนด

  • เป็นโครงงานที่เกิดจากความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการดำเนินการออกแบบหรือปรับปรุงวัตถุ สิ่งของ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร ยานพาหนะ สภาพแวดล้อมเกี่ยวกับการทำงาน โดยเป็นการออกแบบ หรือปรับปรุงที่สามารถมองเห็น สัมผัส จับต้องได้ และใช้งานได้จริง ซึ่งมีการนำหลักวิชาการที่ถูกต้องเข้ามาใช้ในดำเนินงาน และเมื่อนำมาใช้งานจะต้องก่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน ทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีสุขภาพอนามัยดีมีความสะดวกสบายในการปฏิบัติงาน และอาจสามารถเพิ่มผลผลิตได้ด้วย การออกแบบ หรือปรับปรุงดังกล่าว จะต้องสามารถนำไปเป็นตัวอย่างให้แก่สถานประกอบกิจการอื่นได้

  • เป็นโครงงานสิ่งประดิษฐ์คิดค้น หรือกระบวนการทำงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเท่านั้น

  • เป็นโครงงาน/โครงการ/ผลงานที่ดำเนินการผลิตและทดสอบแล้วเสร็จหรือยังอยู่ระหว่างดำเนินงานก็ได้

  • สามารถใช้ได้จริงในสถานประกอบกิจการ หรือสามารถพัฒนาให้ใช้งานได้จริงในสถานประกอบกิจการ

  • สามารถลดความเสี่ยงและการประสบอันตรายจากการทำงานได้จริง

  • ผลงานที่นำเสนอต้องไม่เคยผ่านการรับรางวัลที่ใดมาก่อน

  • ผลงานที่นำเสนอต้องเป็นผลงานที่ถูกพัฒนาขึ้นไม่เกิน 3 ปี

  • ผลงานที่นำเสนอบางผลงาน สสปท. อาจขอความอนุเคราะห์ให้ท่านนำเสนอผลงานในงานสัมมนาด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยระดับนานาชาติ (OAIC) หรืองานความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแห่งชาติ (Thailand Safe at Work) และเผยแพร่ลงบนนิตยสารความปลอดภัย OSHE Magazine เพื่อแบ่งปันแนวคิดด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแก่ผู้ที่สนใจ

  • ผลงาน/โครงงานที่ผ่านการพิจารณาตามคุณสมบัติ อาจได้รับการพิจารณาในการพัฒนาต่อยอด กับสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ หรือร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือช่ายในการพัฒนาต่อยอดผลงานนวัตกรรมร่วมกัน

หมายเหตุ ลิขสิทธิ์/สิทธิบัตรของผลงานที่ส่งเข้าร่วมพิจารณาเป็นของเจ้าของผลงานดังเดิม สสปท. เป็นเพียงหน่วยงานในการส่งเสริม เผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ผลงานให้ผู้ที่สนใจได้รับทราบเท่านั้น

  การส่งผลงาน  

 1   โครงงาน/ผลงานที่จะส่งเข้าพิจารณาจะต้องกรอกข้อมูลและรายละเอียดให้ครบถ้วนสมบูรณ์ ผ่าน Google Form เท่านั้น โดยผู้สมัครไม่ต้องส่งเอกสารฉบับจริงมาที่ สสปท. ทั้งนี้ผู้สมัครต้องกรอกแบบฟอร์มการสมัครตามประเภทการพิจารณา ตามลิงก์หรือ QR-Code นี้

 2   หนังสือแสดงความยินยอมเข้าร่วมส่งผลงานโครงการ/ผลงานนวัตกรรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (F-OSH-002) (ดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ในแบบฟอร์มการสมัคร ทั้งนี้ให้แสกนหรือถ่ายรูปอัพโหลดในแบบฟอร์มสมัครเข้าร่วมนำเสนอผลงาน)

 3   สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (เฉพาะ ผู้ที่ส่งผลงานในนามองค์กร/สถานประกอบกิจการ)

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 

สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน)

หมายเลขโทรศัพท์ 02 448 9111 ต่อ 603 หรือ 06 1420 1371

E-Mail: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

หมายเหตุ

  • ปิดรับสมัครวันที่ 28 กุมภาพันธ์  2567

  • กำหนดการวันรับสมัครอาจมีการปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ สถานประกอบกิจการสามารถติดตามการประกาศผ่านทางเว็บไซต์ของสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ

  • การดำเนินการตัดสินอยู่ในดุลยพินิจจากคณะกรรมการ และการตัดสินจากคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด

  • สำหรับผู้ที่ได้รางวัลชนะเลิศ และรองชนะเลิศ เงินรางวัลจะได้รับหลังจากงานความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแห่งชาติ ครั้งที่ 36