Print this page
วันอังคาร, 08 ตุลาคม 2562 11:11

อาการปวดหลังส่วนล่างจากการทำงาน

บุคคลที่มีแนวโน้มจะมีอาการปวดหลัง  หรือมีพยาธิสภาพที่กระดูกสันหลังอยู่เดิม  หรือมีพยาธิสภาพ ที่กระดูกสันหลังอยู่เดิม  แต่ไม่แสดงอาการก่อนเข้าสมัครงาน  เมื่อได้ทำงานชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วจึงเกิด อาการปวดหลังขึ้นมา ถ้าเป็นโรคร้ายแรงต้องออกจากงาน  ปัจจัยเสี่ยงของการอาการปวดหลังจากการทำงาน  เคยมีประวัติปวดหลังมาก่อน

ลักษณะงานและอาชีพที่เสี่ยง

ลักษณะงานที่ทำให้ปวดหลังได้แก่  คนที่ต้องทำงานประเภทแบกหาม ยกของหนัก อาชีพและงานที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บเฉียบพลัน เช่นการยกของที่อยู่ในท่าทางที่ไม่เหมาะสม อาชีพที่ก้มหรือบิดเอวเป็นประจำเนิ่นนาน เช่นอาชีพพยาบาล  อาชีพที่นั่งทำงานกับพื้นเป็นประจำ อาชีพขับรถบรรทุก  อาชีพทำงานนั่งโต๊ะ

อันตรายต่อระบบอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย

อาการปวดหลัง หมายถึงอาการปวดที่เกิดขึ้นในบริเวณหลังของลำตัวตั้งแต่ระดับคอลงไปจนถึง ก้น กบ (coccyx) แต่อาการปวดหลังส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในบริเวณบั้นเอวจนถึงก้นกบ  หรือที่เรียกว่า อาการปวดหลังส่วนล่าง

     การบาดเจ็บต่อโครงสร้างและเนื้อเยื่อต่าง ๆ บริเวณบั้นเอวเกิดขึ้นได้ 2 กรณี คือกรณีแรกการบาดเจ็บที่เกิดจากแรงกระทำที่มากผิดปกติ กระทำต่อโครงสร้างที่ผิดปกติ เช่นจากการถูกรถชน  และกรณีที่สองเป็นการบาดเจ็บจากแรงกระทำที่ปกติแล้ว  โครงสร้างที่ปกติทนได้แต่โครงสร้างที่เริ่มเสื่อมทรุดโทรมแล้วทนไม่ได้  หรือโครงสร้างส่วนนั้นยังไม่พร้อมรับแรงกระทำนั้น ๆ  เช่นกล้ามเนื้อและเอ็นที่ยังไม่ได้รับการอุ่นเพื่อยืดหยุ่นที่เพียงพอแล้วได้รับแรงกระชากทันที  ซึ่งอาจมีผลทำให้เกิดการฉีกขาดของกล้ามเนื้อและเอ็นได้  เช่น กรณีของกล้ามเนื้อเอวเคล็ดจากการทำงาน (back strain) ในกรณีของการเคลื่อนที่ของหมอนรองกระดูกสันหลัง (Herniated lumbar disc) นั้นเกิดเนื่องจากแรงอัด ภายในหมอนรองกระดูกสันหลัง สูงเกินที่ผนังหุ้มรอบหมอนรองกระดูกสันหลัง(Annulus fibrous) จะทนทานได้เกิดการฉีกขาด และส่วนหมอนตามแนวฉีกขาดนี้ออกมาซึ่งมักจะเคลื่อนสู่ตำแหน่งของรากประสาท  เนื่องจากโครงสร้างของผนังรอบหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนนี้บางกว่าส่วนอื่น

อาการปวดหลังที่อาจเกี่ยวเนื่องจากการประกอบอาชีพสามารถจำแนกได้ 3 กลุ่ม ดังนี้ 

  1. กลุ่มอาการปวดหลังเฉียบพลัน ซึ่งเกิดจากการก้มยกของหรือการบิดเอวที่ผิดจังหวะ อาการปวดพบกระจายอยู่บริเวณแผ่นเอวเบื้องล่าง หรือบริเวณแก้มก้นอาจร้าวไปบริเวณ ต้นขา แต่ไม่เกินหัวเข่า อาการ ปวดเป็นมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหว ถ้าได้พักหรือเคลื่อนไหวน้อยลงอาการปวดจะทุเลา
  2. กลุ่มอาการปวดร้าวไปที่ขา ประวัติการเจ็บป่วยคล้ายกับกลุ่มแรกแต่มีอาการปวดร้าวไปที่ขา บริเวณน่องและปลายเท้า ซึ่งการปวดร้าวขึ้นกับรากประสาทที่เกี่ยวข้องอาการอื่น ๆ ที่สำคัญ ได้แก่อาการ ปวดตามแนวรากประสาท ซึ่งแสดงออกโดยผลตรวจด้วยการโยกขาที่เหยียดตรงในขณะที่ผู้ป่วยนอนให้ผล บวก  อาจพบการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ  และอาการชาของกล้ามเนื้อ  กล้ามเนื้อ และพื้นที่ผิวหนังที่เลี้ยงด้วย รากประสาทที่เกี่ยวข้องตลอดจนอาการลดลงของ reflex ส่วนน้อยของผู้ป่วยกลุ่มนี้อาจมีอาการผิดปกติด้านการขับถ่ายอุจจาระ และปัสสาวะ  ซึ่งเกิดจากการกดทับของรากประสาทกระเบนเหน็บหลายเส้น
  3. กลุ่มอาการปวดล้าบริเวณน่องขณะเดินและผู้ป่วยต้องหยุดเดินหลังจากเดินได้ระยะทางหนึ่ง โรคกลุ่มนี้มักเกิดจากการตีบแคบของโพรงรากประสาท ซึ่งไม่เกี่ยวกับ ซึ่งไม่เกี่ยวเนื่องกับการบาดเจ็บจากการประกอบอาชีพ

การวินิจฉัยโรคเพื่อการรายงาน

  1. ประวัติการทำงาน ลักษณะงานหรือท่าทางการทำงานที่มีกิจกรรมซ้ำในท่าเดิมต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน หรือลักษณะงานทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อกล้ามเนื้อหลังได้ 
  2. จากประวัติและการตรวจร่างกายไม่พบสัญญาณอันตรายหรือปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการปวดหลัง เช่น 

    - ผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 20 ปี หรือมากกว่า 55ปี 
    - การประสบอุบัติเหตุ เช่นตกจากที่สูง 
    - อาการปวดมากขึ้นเรื่อย ๆ 
    - ไข้และน้ำหนักตัวลด 
    -  ตรวจร่างกายพบกระดูกสันหลังมีรูปร่างผิดปกติ 
    - พบอาการเจ็บหน้าอก

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

  1. การฉายภาพรังสีกระดูก 

  2. การตรวจทางหลังสีแม่เหล็ก (MRI)

  3. CT (computerize tomography) scan
เข้าชม 15021 ครั้ง แก้ไขล่าสุด วันอังคาร, 08 ตุลาคม 2562 11:25