Print this page
วันพฤหัสบดี, 30 กรกฎาคม 2563 15:37

สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน

คำนิยาม

         ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน คือ การกระทำหรือสภาพการทำงาน ซึ่งปลอดจากเหตุอันจะทำให้เกิดการประสบอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจหรือสุขภาพอนามัยอันเนื่องจากการทำงานหรือเกี่ยวกับการทำงาน

         อันตราย คือ สภาวการณ์ที่มีเหตุอันจะทำให้เกิดความสูญเสีย

         อุบัติเหตุ คือ เหตุการณ์ที่ไม่มีผู้ใดตั้งใจให้เกิด เมื่อเกิดขึ้นแล้วมีผลทำให้เกิดการบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต หรือทรัพย์สินเสียหาย

         เหตุการณ์เกือบเป็นอุบัติเหตุ คือ เหตุการณ์ที่ไม่มีผู้ใดตั้งใจให้เกิด เมื่อเกิดแล้วไม่มีผลของการบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต หรือทรัพย์สินเสียหาย

         ประสบอันตราย คือ การที่ลูกจ้างได้รับอันตรายแก่กายหรือผลกระทบแก่จิตใจ หรือถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงาน หรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้างหรือตามคำสั่งของนายจ้าง

อุบัติเหตุจากการทำงานสามารถแบ่งออกเป็น 2 สาเหตุ คือ

         1. สาเหตุจากการปฏิบัติงานที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Act) เป็นการกระทำที่ไม่ปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานในขณะทำงาน ซึ่งอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ เช่น

- การใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่เป็นเครื่องจักรกลต่าง ๆ โดยพลการหรือไม่ได้รับมอบหมาย

- การทำงานที่มีอัตราเร่งความเร็วของงานและเครื่องจักรเกินกำหนด

- การถอดอุปกรณ์ป้องกันออกจากเครื่องจักรโดยไม่มีเหตุอันสมควรสมควร

- การดูแลซ่อมบำรุงอุปกรณ์เครื่องจักรในขณะที่กำลังทำงาน

- การใช้เครื่องมืออุปกรณ์เครื่องจักรที่ชำรุดและไม่ถูกวิธี

- ไม่ใส่ใจในคำแนะนำหรือคำเตือนความปลอดภัย

- ทำการเคลื่อนย้ายหรือยกวัสดุที่มีขนาดใหญ่ มีน้ำหนักมาก ด้วยท่าทางหรือวิธีการที่ไม่ปลอดภัย

- ไม่สวมใสอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล

- การคึกคะนองหรือเล่นตลกขณะทำงาน


          2. สภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Condition) คือสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัยโดยรอบตัวของผู้ปฏิบัติงานขณะทำงาน ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุได้ เช่น

- เครื่องจักรไม่มีอุปกรณ์ป้องกันอันตราย

- อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักรที่ออกแบบไม่เหมาะสมกับการใช้งาน

- บริเวณพื้นที่ของการปฏิบัติงานไม่เหมาะสม

- การจัดเก็บวัสดุสิ่งของอย่างไม่ถูกวิธี

- การจัดเก็บสารเคมีหรือสารไวไฟที่เป็นอันตรายไม่ถูกวิธี

- ไม่มีการจัดระเบียบและดูแลความสะดวกของสถานที่ทำงานให้ถูกต้องตามสุขลักษณะ

- แสงสว่างไม่เพียงพอ

- ไม่มีระบบระบายและถ่ายเทอากาศที่เหมาะสม

- ไม่มีระบบเตือนภัยที่เหมาะสม

อ้างอิงจาก

  1. มาตฐานการจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน,
    สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน)

  2. คู่มือการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับบริหาร (ปรับปรุง),พ.ศ.๒๕๖๓
    กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน

  3. ความปลอดภัยในงานวิศวกรรม,พ.ศ.๒๕๖๓ (สืบค้นออนไลน์)

เข้าถึงได้จาก : http://chuonchoom.blogspot.com/2013/08/blog-post.html

 

เข้าชม 385634 ครั้ง แก้ไขล่าสุด วันพฤหัสบดี, 30 กรกฎาคม 2563 16:00